หลักสูตรป้องกันการจมน้ำสำหรับประชาชนทั่วไป (Drowning Prevention Course for Public)
ด้วยการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญ และยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ ประมาณ 236,000 คน สำหรับประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ เฉลี่ยปีละ 3,589 คน เฉลี่ยวันละ 10 คน อัตราการเสียชีวิตอยู่ในช่วง 5.0 – 6.3 ต่อประชากรแสนคน (ข้อมูลเฉลี่ย 10 ปี: พ.ศ. 2555 – 2564) ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ที่เข้าใจง่าย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในการป้องกันการจมน้ำได้ กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค จึงได้จัดทำหลักสูตรป้องกันการจมน้ำสำหรับประชาชนทั่วไป (Drowning Prevention Course for Public) ขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันการจมน้ำ และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่นได้
กลุ่มเป้าหมาย
ประชาชนทั่วไป
กรอบเนื้อหาหลักสูตร
หลักสูตรป้องกันการจมน้ำสำหรับประชาชนทั่วไป ประกอบด้วย 4 บท ดังนี้
บทที่ | ระยะเวลา(นาที) |
---|---|
บทที่ 1 สถานการณ์และมาตรการป้องกันการจมน้ำ | 5 |
บทที่ 2 ความปลอดภัยทางน้ำเบื้องต้นสำหรับประชาชน | 5 |
บทที่ 3 กฎหมาย/มาตรฐานความปลอดภัยทางน้ำที่ควรรู้ | 30 |
บทที่ 4 การเอาชีวิตรอดในน้ำ และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ | 60 |
วิทยากรผู้สอน: เป็นผู้เชี่ยวชาญป้องกันการจมน้ำในแต่ละด้าน จากหลายภาคส่วน
ผู้เรียน: สามารถเริ่มเรียนได้ตั้งแต่ บทที่ 1 ถึงบทที่ 4 โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนประมาณ 100 นาที
การประเมินผล
1. ผู้เรียนต้องผ่านการเรียนในทุกบท ภายในระยะเวลา 5 วัน
2. ผู้เรียนจะต้องมีระยะเวลาการเรียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90 หรือ 90 นาที
3. ผู้เรียนทำแบบประเมินผล ได้คะแนนมากกว่าร้อยละ 70 โดยจะมีการประเมินผล ภายหลังจากการเรียน
เมื่อเรียนจบทั้ง 4 บท และผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้เรียนจะได้รับเกียรติบัตรจากกรมควบคุมโรค ซึ่งผู้เรียนสามารถออกเกียรติบัตรได้ด้วยตนเอง